การทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ระบบเสียง TOA

การทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ระบบเสียง TOA

 

การทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ระบบเสียง TOA

ขณะนี้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การระบาดของ COVID-19 ซึ่งก็ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการล้างมือ และ การระมัดระวังเรื่องการปนเปื้อนกันมากขึ้น แต่คุณทราบหรือไม่ว่า คุณก็สามารถรับเชื้อโรคจากการสัมผัส มือถือ, ทีวี หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน

โดยทั่วไป อุปกรณ์ระบบเสียงเช่น ไมโครโฟน ชุดหูฟัง ฯลฯ มักใช้งานร่วมกันหลายคน และมีการสัมผัสตลอดเวลา ดังนั้นโอกาสที่ละอองฝอยน้ำลายที่มีไวรัส อาจติดอยู่บนอุปกรณ์และสามารถแพร่กระจายได้ หากไม่ได้ทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี

เราขอแนะนำขั้นตอนการทำความสะอาดอุปกรณ์ระบบเสียง TOA เพื่อความสะอาดถูกสุขอนามัย และไม่สร้างความเสียหายกับตัวอุปกรณ์

 

เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด





ก่อนที่คุณจะเริ่มทำความสะอาดควรปฏิบัติดังนี้





ข้อควรระวัง




-     
ควรระวังการออกแรงขัด หรือ ถู ด้วยน้ำยาทำความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อสิ่งพิมพ์ ต่างๆ บนอุปกรณ์
-      หลังทำความสะอาดให้รอจนกว่าพื้นผิวอุปกรณ์แห้ง ก่อนเปิดเครื่องเพื่อใช้งานอีกครั้ง
-      การรับประกันสินค้าจะไม่ครอบคลุมถึง ความเปลี่ยนแปลงของพื้นผิววัสดุที่เกิดจากน้ำยาทำความสะอาด และร่องรอยที่เกิดจากการทำความสะอาดแบบไม่ถูกวิธี


คำแนะนำในการเตรียมน้ำยาทำความสะอาด




-     ควรเตรียมน้ำยาทำความสะอาดให้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งานในครั้งนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บน้ำยาส่วนที่เหลือ
-      เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บน้ำยาทำความสะอาดให้พ้นมือเด็ก

ขั้นตอนการทำความสะอาด

-      ชุบผ้าไมโครไฟเบอร์ลงในน้ำยาทำความสะอาด และบิดพอหมาดๆ ก่อนเช็ดบนพื้นผิวอุปกรณ์
(ข้อสำคัญ:: ก่อนการทำความสะอาด ควรทดสอบน้ำยาในพื้นที่หลบสายตาบนอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบว่าไม่ทำลายพื้นผิวอุปกรณ์) 




-      หลังจากทำความสะอาดด้วยน้ำยาแล้ว ให้นำผ้าไมโครไฟเบอร์อีกผืนชุบน้ำสะอาด และบิดผ้าให้แห้ง แล้วใช้เช็ดน้ำยาทำความสะอาดออกจนหมด




ากไมโครโฟนมีฟองน้ำบังลม

ควรถอดฟองน้ำแยกออกมาเพื่อทำความสะอาด และหากฟองน้ำบังลมมีความเสียหายเนื่องจากอายุการใช้งาน ควรเปลี่ยนใหม่เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานอุปกรณ์


Q&A

Q1: ฉันสามารถใช้แอลกอฮอล์เป็นยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดได้หรือไม่

A1: ไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ชิ้นส่วนเรซินของผลิตภัณฑ์เสียหายได้ และอาจเป็นการเร่งให้วัสดุเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

Q2: ฉันสามารถใช้น้ำกรดไฮโปคลอรัสเป็นยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดได้หรือไม่

A2: ไม่แนะนำให้ใช้น้ำไฮโปคลอไรท์ เนื่องจากอาจทำให้ชิ้นส่วนยางของผลิตภัณฑ์เสียหายได้และ อาจเป็นการเร่งให้วัสดุเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

Q3: ฉันสามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีค่าเป็นด่างอ่อน หรือ กรดอ่อน ได้หรือไม่

A3: น้ำยาทำความสะอาดที่มีค่าเป็นกลางจะมีความเสี่ยงน้อยสุดทีเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม หากคุณทำตามขั้นตอนแนะนำ
 ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาด  เช็ดน้ำยาทำความสะอาดออกจนหมด ก็จะไม่มีปัญหากับการใช้งานน้ำยาทำความสะอาดที่เป็นด่างอ่อน หรือ กรดอ่อน

 

Scroll to top